หากคุณเคยประสบกับปัญหาความรุนแรง หรือ บุคคลดังกล่าวถูกกระทำรุนแรง คุณสามารถติดต่อตำรวจได้ที่หมายเลข 112 อย่างไรก็ตาม ในกรณีดังกล่าว คุณมีหน้าที่จะต้องติดต่อหน่วยงานคุ้มครองเด็กด้วย

 

เหล่านี้คือข้อคิดที่เป็นประโยชน์ ในกรณีที่เด็กเปิดเผยให้ทราบเกี่ยวกับความรุนแรง:

 

ฉันควรทำอย่างไร?

    • เชื่อเด็ก
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเด็กปลอดภัย
  • ติดต่อหน่วยงานคุ้มครองเด็ก

 

เป็นสิ่งสำคัญ:

    • สำหรับเด็ก ที่พวกเขาต้องรู้สึกว่าการเล่าเรื่องราวความรุนแรงนั้นเป็นการกระทำที่ถูกต้อง
  • ที่จะอธิบายให้เด็กเข้าใจว่าความรุนแรงไม่ใช่ความผิดของพวกเขา
  • ที่จะจดจำไว้ว่าการตอบสนองของคุณจะเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากต่ออนาคต – และต่อวิธีการที่เด็กจะจัดการกับผลสืบเนื่องจากความรุนแรง

 

หน้าที่ของคุณที่จะต้องรายงาน

 

หากคุณรับรู้หรือแม้แต่สงสัยว่าเด็กถูกกระทำรุนแรงคุณต้องติดต่อหน่วยงานคุ้มครองเด็ก

 

มาตรากฎหมายด้านล่างนี้คัดมาจากข้อ 4 ว่าด้วยการแจ้งให้ทราบและหน้าที่อื่นๆ ที่มีต่อหน่วยงานคุ้มครองเด็กตามรัฐบัญญัติคุ้มครองเด็ก (Child Protection Act) เลขที่ 80/2002

 

มาตรา 16

  1. หน้าที่ของประชาชนที่ต้องแจ้งให้ทราบ

[ทุกคนมีภาระหน้าที่ที่จะต้องแจ้งคณะกรรมการคุ้มครองเด็กให้ทราบ หากมีเหตุผลที่เชื่อได้ว่าเด็ก:

ก. ดำเนินชีวิตในสถานการณ์การเลี้ยงดูที่ยอมรับไม่ได้

ข. พบเจอกับความรุนแรงหรือการปฏิบัติที่เลวร้ายอื่นๆ หรือ

ค. อยู่ในสภาวะที่เป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพและการเจริญเติบโตของเด็ก

ยิ่งไปกว่านั้น ทุกคนมีหน้าที่จะต้องแจ้งคณะกรรมการคุ้มครองเด็กให้ทราบหากมีเหตุผลที่เชื่อได้ว่าสุขภาพหรือชีวิตของเด็กในครรภ์ถูกคุกคามอันเนื่องจากวิถีชีวิตที่อันตรายหรือยอมรับไม่ได้ของหญิงมีครรภ์ เช่น ในรูปแบบของการติดสุราหรือการใช้สารเสพติด หรือกรณีหญิงมีครรภ์ต้องพบเจอกับความรุนแรง หรือหากมีเหตุผลที่สงสัยได้ว่าหญิงมีครรภ์อาจเจอกับความรุนแรงหรืออุบัติการณ์ใดก็ตามที่อาจถือว่าเข้าข่ายข้อกังวลของคณะกรรมการคุ้มครองเด็ก]1) 1) รัฐบัญญัติเลขที่ 80/2011, มาตรา 7

 

มาตรา 17

  1. หน้าที่ในการแจ้งให้ทราบของผู้ที่ดูแลจัดการเด็ก

[ทุกคนที่เกี่ยวข้องในประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับเด็กหรือหญิงมีครรภ์ ซึ่งเป็นการเกี่ยวข้องโดยตำแหน่งหน้าที่การทำงาน หรือโดยอาชีพก็ตาม จะมีหน้าที่ต้องแจ้งต่อคณะกรรมการคุ้มครองเด็กหากรับรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ ดังที่อธิบายไว้ในมาตรา 16] 1)

ครูใหญ่และครูโรงเรียนอนุบาล พี่เลี้ยงเด็ก ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูอาจารย์ แพทย์ ทันตแพทย์ ผดุงครรภ์ พยาบาล จิตแพทย์ นักสังคมสงเคราะห์ นักบำบัดด้านพัฒนาการเด็ก [ที่ปรึกษาทางอาชีพ] 1) และผู้ที่ให้บริการทางสังคมหรือให้คำปรึกษาต่างๆ จะมีหน้าที่รับผิดชอบพิเศษที่จะต้องกำกับดูแลด้านพฤติกรรม การเลี้ยงดูและสภาวะต่างๆ ของ เด็กเท่าที่จะเป็นไปได้และแจ้งรายงานไปยังคณะกรรมการคุ้มครองเด็กหากสถานการณ์ของเด็กส่อให้เห็นว่ามีลักษณะดังที่อธิบายไว้ในวรรคแรก

หน้าที่การแจ้งให้ทราบดังที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้จะต้องยึดเป็นบรรทัดฐานหลักที่อยู่เหนือบทบัญญัติต่างๆ ในกฎหมายหรือประมวลจริยธรรมว่าด้วยการรักษาความลับภายในวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง 1) รัฐบัญญัติเลขที่. 80/2011, มาตรา 8